อันดับแรกหลังจากที่เราได้ต้อนรับสมาชิกใหม่เข้ามาสู่ครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นน้องหมาหรือน้องแมวก็ตาม สิ่งแรกที่เจ้าของสัตว์ต้องนึกถึงเป็นอันดับแรกสำหรับการเริ่มต้นเลี้ยงลูกสุนัขลูกแมว คือ การพามาพบคุณหมอ เพื่อตรวจเช็คสุขภาพกับคุณหมอ ซึ่งคุณหมอจะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด และตรวจโรคติดเชื้อเบื้องต้น รวมทั้งพิจารณาถึงสภาพร่างกาย และช่วงวัยในการเริ่มโปรแกรมดูแลสุขภาพ
อายุ 8 สัปดาห์ ก็เริ่มโปรแกรมสุขภาพได้เลย
เริ่มต้นเลี้ยงลูกสุนัขลูกแมวและปรึกษาการดูแลสุขภาพกับคุณหมอมักจะเริ่มต้นที่ น้องหมาน้องแมวอายุ 8 สัปดาห์ สามารถเข้ามาพบคุณหมอ เพื่อตรวจร่างกาย ถ่ายพยาธิ รวมถึงเริ่มโปรแกรมป้องกันปรสิตภายในและภายนอก และเตรียมตัวสำหรับการทำวัคซีนเข็มแรก การดูแลโดยทั่วไป การเลือกอาหาร โดยคุณหมอจะช่วยดูแลส่วนนี้ได้ตั้งแต่วันแรกที่พบกัน
คัดกรองโรค
คุณหมอจะทำการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อให้กับน้องหมาและน้องแมวดังนี้
ตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อในน้องหมา : เริ่มต้นเลี้ยงลูกสุนัข คุณหมอจะตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อลำไส้อักเสบ (Canine parvovirus) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Canine coronavirus) โรคหัดสุนัข (Canine distemper virus) เป็นต้น
ตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อในน้องแมว : เริ่มต้นเลี้ยงลูกแมว คุณหมอจะตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสหัดแมว (Feline parvovirus) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Feline coronavirus) โรคเอดส์แมว (Feline immunodeficiency virus : #FIV) โรคลิวคีเมียในแมว (Feline leukemia virus : #FeLV) เป็นต้น
ตรวจอุจจาระ
นอกจากนี้คุณหมอจะทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อตรวจดูความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ตรวจหาไข่พยาธิ/พยาธิ และโรคบิด เป็นต้น
โปรแกรมวัคซีน
คุณหมอจะพิจารณาความพร้อมของร่างกาย และให้คำแนะนำเรื่องวัคซีน ร่วมถึงการดูแลลูกสุนัข/ลูกแมวที่เหมาะสมเบื้องต้นตามวัย โดย #โปรแกรมวัคซีน ของโรงพยาบาลสัตว์พญาไท 7 ในน้องหมาน้องแมว แนะนำให้ทำตามช่วงเวลาดังนี้ค่ะ
เข้าบ้านใหม่ แยกห้องกับพี่ๆ ก่อน
หากที่บ้านมีสุนัข/แมวอยู่แล้ว แนะนำให้แยกน้องใหม่ออกจากพี่ๆ ไว้ก่อนอย่างน้อย 7 วัน เพื่อสังเกตอาการน้องๆ ที่รับเข้ามาใหม่ว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ หากพบความผิดปกติในช่วงนี้ให้พากลับมาพบคุณหมออีกครั้ง
เฝ้าระวัง 7 วันแรก
อย่างไรก็ดีช่วง 7 วันแรกหลังจากเข้าบ้านใหม่ แม้ว่าน้องๆ จะได้รับการตรวจร่างกายและตรวจคัดกรองโรคกับคุณหมอในวันแรกไปแล้ว แต่เด็กๆ อาจมีความเครียดจากการเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนเจ้าของ ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงใหม่มีภาวะภูมิตกและเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมาได้เช่นกัน หากเจ้าของพบอาการของสัตว์เลี้ยงเข้าข่ายโรคติดเชื้อบางอย่าง คุณหมออาจจำเป็นต้องตรวจโรคติดเชื้อซ้ำอีกครั้ง
Comments