top of page
Writer's pictureJoan Yong

โรคที่มักพบบ่อยในแมว สก็อตติชโฟลด์

Updated: Oct 26


ศูนย์โรคแมวโรงพยาบาลสัตว์พญาไท7
โรคที่พบบ่อยในแมวสก็อตติชโฟลด์

ความนิยมในการเลี้ยงน้องแมวสายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยมีมากขึ้นเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน หนึ่งในสายพันธุ์สุดฮิตก็ต้องนึกถึงน้องแมวหูพับแสนน่ารัก สก็อตติช โฟลด์ ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยในสก็อตติชโฟลด์ เป็นเรื่องที่เจ้าของน้องแมวสายพันธุ์นี้ต้องรู้เอาไว้เพื่อเตรียมตัวในการดูแลน้องได้อย่างถูกวิธี

 

โรคเกี่ยวกับระบบกระดูก เอ็น และข้อต่อ 

  • ภาวะข้อเสื่อม (Scottish fold Osteochondrodysplasia; SFOCD) 

    • เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูกอ่อน ซึ่งส่งผลต่อกระดูกอ่อนบริเวณใบหู ทำให้ลักษณะของใบหูน้องแมวมีลักษณะหูพับเกิดขึ้น แต่ในน้องแมวบางตัวผลจากการกลายพันธุ์ของยีนนี้เป็นเหตุให้มีการเจริญเติบโตของกระดูกและกระดูกอ่อนส่วนอื่นๆของร่างกายผิดปกติ เช่น  กระดูกขาท่อนปลายขาหน้าและขาหลัง กระดูกสันหลัง นิ้วมือ และหาง  น้องแมวเป็นโรคนี้จะแสดงลักษณะอาการข้อเสื่อม ซึ่งจะพบความผิดปกติของข้อที่มีการเชื่อมติดกัน จากการเกิดกระดูกงอกออกมาที่บริเวณหาง ข้อเท้าขาหน้าและขาหลัง รวมถึงข้อเข่า น้องแมวจึงแสดงอาการเจ็บ ทำให้น้องแมวไม่อยากลุกเดิน พบท่าทางการเดินที่ผิดปกติ เช่น เดินขาแข็งๆ ไม่งอขา หรือเดินขาแกว่งๆ ในน้องแมวที่พบการอักเสบขอข้องที่รุนแรงมากขึ้น อาจพบการบวมข้อได้ และในน้องแมวที่มีอาการเจ็บปวดรุนแรง สามารถส่งผลต่อการขับถ่ายอุจจาระได้ ทำให้น้องแมวไม่อยากขับถ่าย จนเกิดภาวะท้องผูกตามมา

    • การวินิจฉัย จะอาศัยข้อมูลจากการซักประวัติ เกี่ยวกับการเดิน พฤติกรรม และการเคลื่อนไหวของน้องแมว การตรวจร่างกาย รวมถึงการถ่ายภาพ x-ray ก็สามารถพบความผิดปกติ เมื่อเกิดภาวะข้อเสื่อม นอกจากนี้การตรวจหายีนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติก็สามารถตรวจได้เช่นกัน แต่จะต้องมีการเก็บส่งตัวอย่างไปยังต่างประเทศเพื่อทำการตรววจหายีนที่ผิดปกติ

    • การรักษา สามารถเลือกใช้การรักษาทางศัลยกรรม และการรักษททางยา รวมทั้งการกายภาพบำบัด เพื่อช่วนในการบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น แต่ว่าควรมาพบคุณหมอเฉพาะทางกระดูก เพื่อทำการตรวจประเมินและวางแผนการรักษาก่อน

    • การป้องกัน สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์น้องแมวที่ลักษณะของใบหูพับ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการถ่ายทอดยีนที่มีความผิดปกติไปยังน้องแมวรุ่นถัดๆ ไป

  • โรคเกี่ยวกับระบบผิวหนัง

    • ภาวะช่องหูส่วนนอกอักเสบ (Otitis externa)

      • เกิดจากลักษณะของใบหูน้องแมวที่มีลักษณะเป็นใบหูตกพับลงมา ทำให้ในช่องหูเกิดการอับชื้น ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อยีสต์และเชื้อแบคทีเรียซึ่งปกติที่พบได้ตามผิวหนังบริเวณช่องหู  และเกิดการเพิ่มจำนวนของเชื้อมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อบริเวณช่องหูส่วนนอกตามมา

      • ในน้องแมวที่พบภาวะช่องหูส่วนนอกอักเสบ จะแสดงอาการคันและเกาหูบ่อย ในน้องแมวบางตัวที่มีการเกาบริเวณใบหูอย่างรุนแรง อาจส่งผลในเส้นเลือดฝอยบริเวณใบหูเกิดการฉีกขาด ทำให้น้ำเลือดออกมาสะสมระหว่างชั้นใต้ผิวหนังและกระดูกอ่อนบริเวณใบหู จึงพบลักษณะใบหูบวมขึ้นกว่าผิดปกติได้ นอกจากนี้อาจพบว่ามีสารคัดหลั่ง เช่น ขี้หูมีสีและกลิ่นผิดปกติ และปริมาณที่มากกว่าปกติออกมาจากช่องหู

      • หากพบน้องแมวมีลักษณะคันหรือเกาหู แนะนำให้พาน้องแมวมาพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิฉัยลักษณะของเซลล์ และเชื้อที่พบในช่องหู รวมถึงวินิจฉัยแยกแยะกับสาเหตุอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดภาวะช่องหูอักเสบ เพื่อวางแผนในการรักษาให้สัมพันธ์กับสาเหตุต่อไป

  • โรคเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนโลหิตและหัวใจ

    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวมากกว่าปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy; HCM)

      • เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในน้องแมว โดยแมวทุกชนิดสามารถเป็นโรคนี้ได้ 

      • อาการ มีตั้งแต่น้องแมวไม่แสดงอาการป่วย โดยที่น้องแมงบางตัวสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่แสดงอาการป่วยไปตลอดชีวิต ไปจนถึงอาการป่วยที่ไม่ได้บ่งชี้ถึงภาวะโรคหัวใจ เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และอาการป่วยที่มีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น ภาวะขาหลังอ่อนแรงเฉียบพลัน หายใจเร็ว หายใจลำบาก ซึ่งภาวะหายใจลำบากอาจเกิดร่วมกับภาวะน้ำท่วมปอด ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้คือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันและภาวะหัวใจล้มเหลว 

      • การตรวจวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการ x-ray ช่องอก หรือ การตรวจเลือดด้วยชุดทดสอบ NT-proBNP และการตรวจด้วยการทำการวินิจฉัยยืนยันโรคด้วยการตรวจด้วยการอัลตราซาวด์หัวใจ หรือ echocardiography โดยคุณหมอเฉพาะทางด้านหัวใจต่อไป

      • แนวทางในการรักษา สามารถทำได้เพียงการรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันเท่านั้น โดยการให้ยาในกลุ่มต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ส่วนในกรณีหัวใจล้มเหลวสามารถทำการรักษาด้วยยาในกลุ่มยาขับน้ำ และอาจพิจารณาให้ยาในกลุ่มช่วยเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ เพื่อให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น 

Commenti


bottom of page